
ข้อแนะนำระหว่างการใช้งานและก่อนใช้งานรถตัดอ้อย
ข้อแนะนำระหว่างการใช้งานและก่อนใช้งานรถตัดอ้อย ก่อนเริ่มต้นใช้งานผู้ใช้งานควรที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับรถตัดอ้อย เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานต่อตนเอง และต่อผู้ร่วมงาน ดังนั้นวันนี้แอดมินจึงได้นะสาระความรู้ในเรื่องของรถตัดอ้อยเกี่ยวกับข้อแนะนำก่อนเริ่มต้นใช้งานมาฝาก จะน่าสนใจแค่ไหนตามแอดมินมาดูกันเลยค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนการใช้งานรถตัดอ้อย
1. ทำความรู้จักกับอุปกรณ์รถตัดอ้อยและข้อจำกัดต่าง ๆ
2. ปฏิบัติตามข้อความคำเตือนของรถตัดอ้อย
3. อย่าขับรถตัดอ้อยขณะมึนเมาหรือง่วง
4. ขณะใช้รถตัดอ้อยต้องแต่งตัวรัดกุม
5. อย่าให้ผู้ที่ขับรถตัดอ้อยไม่เป็นขับแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ต้องฝึกฝนให้ขับรถตัดอ้อยป็นและมีความชำนาญเสียก่อน
6. ตรวจเช็คความสึกหรอของคันเร่งและระบบต่าง ๆ ในรถตัดอ้อย
7. หมั่นทำความสะอาด เศษผง ใบอ้อย จารบี คราบน้ำมัน และเวลาเติมน้้ำมันห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

การใช้งานรถตัดอ้อย
1. ผลักตัวควบคุมให้อยู่ในตำแหน่งไม่ทำงาน
2. เร่งคันเร่งมือ
3. บิดกุญแจสตาร์ทตำแหน่งเปิด
4. ตรวจวัดระดับน้ำระบายความร้อน
5. ทำความสะอาดตะแกรงหน้าหม้อน้ำ
6. ตรวจเช็คทำความสะอาดไส้กรองอากาศ (ตัวนอก)
7. ตรวจเช็คตัวดักฝุ่นที่กรองอากาศในถ้วยพลาสติกตัวบนและหมั่นทำความสะอาดทุกวันและบีบท่อยางฝุ่นเพื่อให้ฝุ่นทิ้งออกไป
8. ตรวจการทำงานของเกจวัดและไฟเตือนต่าง ๆ บนหน้าปัดรถตัดอ้อย
9. ตรวจสภาพแรงดันลมยางและสภาพยาง ลมยางที่แข็งเกินไป (ยางสึกกลางหน้ายาง)
– ยึดเกาะถนนไม่ดี เนื่องจากหน้ายางรถตัดอ้อยสัมผัสกับพื้นดินน้อย
– การขับขี่รถตัดอ้อยไม่สบายเนื่องจากความสั่นสะเทือนสูง ลมยางต่ำเกินไป (ยางสึกที่ขอบยาง)
– ยางรถตัดอ้อยจะร้อนเนื่องจากโครงยางยืดหยุ่นตัวมากเกินไปอาจทำให้ยางกร่อนได้
– ความสามารถในการรับน้ำหนักลากจูงลดลง
– การยึดเกาะถนนและการลอยตัวดี
– ยางไม่ยืดหยุ่นตัวมากหรือน้อยเกินไปจึงทำให้ยางไม่ร่อนและไม่เสียหาย ถ้าเกิดการกระแทกแรง ๆ
10. แท่นยืนและขั้นบันได
– กำจัดโคลนคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่สะสมอยู่บนแท่นยืน บริเวณพื้นห้องขับและขั้นบันได
11. ท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและท่อไฮดรอลิกส์ตรวจดูสภาพทั่วไปของท่อส่งเชื้อเพลิง และท่อไฮดรอลิคการรั่วของน้ำมัน เชื้อเพลิงในท่อ และข้อต่อเป็นอันตรายที่ทำให้เกิดการติดไฟ (และสิ้นเปลือง เชื้อเพลิง) หากความดัน หรือปริมาณของน้ำมันไฮดรอลิกส์ในท่อส่งลดลง, เป็นผลจากการรั่วไหล, อาจทำให้เสียกำลัง
12. ความสามารถในการมองเห็นจากห้องคนขับ ตรวจดูว่าหน้าต่างทุกบานสะอาด กระจกมองข้างทุกบานปรับในตำแหน่งที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง
1. ห้ามผู้โดยสารขึ้นบนรถตัดอ้อย
2. อย่าขึ้น – ลงรถตัดอ้อยขณะรถตัดอ้อยกำลังวิ่งอยู่
จากสาระข้างต้นที่แอดมินนำเอามาฝาก แอดมินคิดว่าน่าจะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อยไม่ว่าจะสำหรับท่านที่ต้องหาสาระความรู้หรือผู้ที่ใช้งานรถตัดอ้อยอยู่แล้ว หรือหากคุณต้องการสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญในรถตัดอ้อย เครื่องจักรกลทางการเกษตรโดยตรง Thai-A เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและผลิตรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ เครื่องจักรกลทางการเกษตรอื่น ๆ อีกมากมาย เราพร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดระยะเวลาทำการ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
- การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency


ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี การทำไร่อ้อยสมัยใหม่ เน้นเรื่องการวางแผนกิจกรรมในไร่อ้อย โดยใช้รถตัดอ้อยเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำงาน เพื่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงาน เพื่อให้ชาวไร่มีเวลาไปทำกิจกรรมเกษตรด้านอื่น ๆ แต่หากชาวไร่อ้อยนำรถตัดอ้อยมาใช้งานอย่างผิดวิธี ความเสียหายตามมาที่จะเกิดขึ้น มีทั้งสูญเสียวัสดุอุปกรณ์โดยใช่เหตุ เสียเงินซ่อมแซมเครื่องมือที่ชำรุดเสียหาย และที่สำคัญเสียเวลาในการทำงานอีกด้วย วันนี้แอดมินจะมาแนะนำให้ชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี

ความรู้เรื่องรถตัดอ้อยเบื้องต้น
สำหรับรถตัดอ้อย หากจะให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกเหนือจากความพร้อมของรถตัดอ้อยเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของรถบรรทุก หรือรถกล่อง และรถลำเลียงอ้อยด้วย ชาวไร่จึงควรตรวจเช็กความพร้อมของรถตัดอ้อย เช่น ตรวจเช็กระบบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ระบบไฟฟ้า ระบบแตร และยางให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน และต้องจัดเตรียมผ้าคลุมกระบะบรรทุกอ้อย ให้คลุมได้มิดชิด ป้องกันท่อนอ้อยตกหล่นตามท้องถนน ที่สำคัญรถตัดอ้อยทุกคันต้องผ่านการตรวจสภาพ เพื่อขอสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสภาพรถ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจำพวกเศษเหล็กหลุดเข้าสู่โรงงานน้ำตาลอีกด้วย
สำหรับรถตัดอ้อยคันไหนที่ใช้รถลำเลียงอ้อย ต้องจัดเตรียมรถแทรกเตอร์ที่จะใช้ลากรถลำเลียงอ้อย โดยรถลำเลียงอ้อยขนาดบรรทุก 6 ตัน รถแทรกเตอร์ต้องมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 80 แรงม้า และรถลำเลียงอ้อยขนาดบรรทุก 8 ตัน รถแทรกเตอร์ต้องมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 100 แรงม้า

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้รถตัดอ้อยผิดวิธี
- ทำให้อ้อยที่ได้จากการใช้รถตัดอ้อยมาไม่ได้มาตรฐาน
- เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนของรถตัดอ้อย
- เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
- เสียเวลาที่ต้องกลับมาแก้ไขใหม่
- ทำให้ผลผลิตอ้อยไม่ดีตามที่ควรจะเป็น และเสียโอกาสในการรับผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย
หลักการพื้นฐานในการใช้งานรถตัดอ้อย ให้ถูกต้อง
- สำรวจแปลงหรือพื้นที่ที่จะทำกิจกรรม
- กำหนดขั้นตอนการทำงานรถตัดอ้อย
- เตรียมรถตัดอ้อยที่ต้องใช้งานให้พร้อม
- กำหนดผู้ตรวจสอบทั้งคุณภาพของอ้อยและคุณภาพของรถตัดอ้อย
- กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ทราบต้นทุนของงานว่าเกินงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่
ดังนั้น เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ และไม่เกิดความเสียหาย การเลือกใช้รถตัดอ้อยให้ถูกวิธีตามแผนงานที่กำหนดไว้ เป็นการทำไร่อ้อยที่เกิดประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงาน และได้งานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
- รถตัดอ้อย THAI-A มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยอย่างไร
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID : @thaiagency


การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย
การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย การผลิตอ้อยมีหลายกิจกรรมที่ใช้แรงงานมาก และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการแต่ละกิจกรรมให้ทันเวลา แต่ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร่อ้อยทวีความรุนแรงมากขึ้น หากจะบริหารจัดการในไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพจะใช้แต่แรงงานคนนั้นอาจไม่ทันเวลา รถตัดอ้อยจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการทำงานให้ทันเวลา นอกจากนี้การใช้รถตัดอ้อยให้มีประสิทธิภาพยังทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งควรบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย ดังนี้

1. การปรับปรุงบำรุงดิน
การเตรียมดินปลูกอ้อยใหม่ เริ่มจากกการไถระเบิดดินดานก่อนปลูก ทำให้เกิดการเปิดหน้าดินน้อยลดการสูญเสียความชื้น และเมื่อมีฝนจะทำให้น้ำไหลผ่านชั้นดินดานไปได้ดีช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นมากขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ ช่วยในอุ้มน้ำ และปลดปล่อยธาตุอาหารให้อ้อย โดยแนะนำให้ใส่น้ำวีนัส หรือกากน้ำตาล ในช่วงทำการเตรียมดิน ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะจะให้รากอ้อยได้หยั่งลึกลงไปหาน้ำและอาหาร และต้องเตรียมดินให้ละเอียดเพื่อให้เดินเก็บน้ำไว้ได้นานที่สุด
2. การเตรียมท่อนพันธุ์
พันธุ์อ้อย ใช้พันธุ์อ้อยตามคำแนะนำของหน่วยงานภาครัฐโดยเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และต้องเป็นพันธุ์ที่ปลอดโรค (ขอนแก่น3 สุพรรณบุรี80 LK11 KPX98-51 และ CSB06 เป็นต้น)
3. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง
ปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก เพราะจะช่วยให้ท่อนพันธุ์ลงได้สม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้สูตรที่มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง เพื่อเร่งรากให้แข็งแรง และเร่งการแตกหน่อ สูตร16-16-8 หรือ 18-12-6 ในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย อัตรา 60 กก./ไร่ โดยในการปลูกควรใช้ระยะ 1.40 เมตร เพื่อให้รถตัดอ้อยเข้าไปจัดการได้ง่ายขึ้น

4. บำรุงรักษา
มีการบำรุงดินภายในไร่อ้อยของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ การไม่เผาไร่อ้อย ทำให้ใบอ้อยจากการตัดอ้อยสดโดยรถตัดอ้อยมีการคลุมหนาทั่วแปลง รักษาความชื้นภายในดินได้ดี วัชพืชไม่สามารถขึ้นมาได้ และใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ ได้แก่ กากอ้อย และปุ๋ยจากโรงงานอ้อย อีกทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงตออ้อยเสริมเป็นบางครั้ง การบำรุงตออ้อยที่ดี หลังจากที่เกษตรกรตัดอ้อยสดโดยรถตัดอ้อยแล้วจะปล่อยใบอ้อยให้คลุมดิน แต่เนื่องจากเป็นอ้อยตอ ทำให้อ้อยที่คลุมดินหนามาก จึงคิดวิธีช่วยย่อยสลาย โดยนำปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ปริมาณ 20 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 200 ลิตร หมักในถังหมักระยะเวลา 7 วัน จากนั้นจึงทำการฉีดใบอ้อยที่คลุมดิน เพื่อให้ใบอ้อยย่อยสลายและเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่อ้อยตอได้ดี
5. การเก็บเกี่ยว
จะเริ่มเก็บเกี่ยวอ้อยประมาณเดือน พ.ย.- ธ.ค. ตามประกาศของโรงงานอ้อยละน้ำตาล โดยใช้รถตัดอ้อยเพราะพื้นที่ในการจัดการมีมากจึงต้องมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมาช่วย และต้องจัดคิวลูกไร่ให้ดีเพื่อจะได้มีอ้อยเข้าโรงงานตามโควต้าสม่ำเสมอทุกวันตลอดฤดูกาลเปิดหีบ ซึ่งการปิดหีบจะอยู่ในช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย. ด้วยช่วงระยะเวลาเปิดหีบสั้นมากกินเวลาเพียง 4 – 5 เดือน เวลาทุกชั่วโมงจึงมีค่า
รถตัดอ้อยสำคัญอย่างไรในไร่อ้อย
รถตัดอ้อยเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งไว้ใช้ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลใช้รถตัดอ้อยในการตัดอ้อยแบบอ้อยท่อน พร้อมทั้งมีตัวตัดยอดและหางสะพานลำเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตะกร้าหรือรถบรรทุกทันที รถตัดอ้อยช่วยทดแทนแรงงานคน และลดความยุ่งยากในการจัดการกับแรงงานคน ซึ่งรถตัดอ้อยช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมาย และวางแผนการตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากบทความเรื่อง การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย ซึ่งจะสามารถช่วยให้ความรู้เกษตรกรที่ทำไร่อ้อยให้บริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้รถตัดอ้อยนั้นช่วยอำนวยความสะดวกแก่ชาวไร่อ้อยและเพิ่มผลผลิตอีกด้วย ถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
- รถตัดอ้อย THAI-A มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยอย่างไร
- วางแผนใช้งานรถตัดอ้อยอย่างไรให้ใช้งานได้ยาวนาน
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency


ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิต
ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิต สังเกตได้ว่าการเผาอ้อยเป็นมลพิษ เพิ่มฝุ่น PM2.5 แล้วยังทำให้คุณภาพอ้อยลดลง ทำให้ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้รถตัดอ้อยสด เพราะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้ต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้ แต่ปัจจุบันรถตัดอ้อยยังมีไม่ทั่วถึง ส่งผลให้สัดส่วนการตัดอ้อยไฟไหม้ในแต่ละปียังคงมีสูง ซึ่งกระทบต่อรายได้ของชาวไร่อ้อยทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งเสริมและสนับสนุนรถตัดอ้อยมากขึ้น จะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่โรงงานน้ำตาลได้อ้อยคุณภาพเข้ากระบวนการผลิต และยังเป็นผลดีต่อปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ลดลง

- การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในปัจจุบัน
การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล นิยมใช้วิธีเผาอ้อยก่อนตัด โดยอ้อยไฟไหม้มีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 63.3 ในช่วง 10 ปีการผลิตที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรนอกจากจะถูกหักค่าอ้อยในเรื่องคุณภาพแล้ว ยังเป็นการเพิ่มฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่อีกด้วย ดังนั้น หากมีการส่งเสริมให้ใช้รถตัดอ้อยสด นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้สุทธิหลายหมื่นบาทต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อยที่ใช้รถตัดอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้

- การแก้ปัญหา
การสนับสนุนให้มีการตัดอ้อยสดเข้าโรงงาน จำเป็นต้องเพิ่มรถตัดอ้อยให้เพียงพอต่อการตัดอ้อยสด ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2,000-2,500 คัน จากจำนวนที่ควรมีคือ 3,400-4,500 คัน นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่การเพาะปลูก ไปสู่รูปแบบการปลูกใหม่ที่เหมาะสำหรับการนำรถตัดอ้อยมาใช้เก็บเกี่ยวก็เป็นสิ่งสำคัญ ความท้าทายของการทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มรถตัดอ้อย ที่มีราคาค่อนข้างสูงถึง 8-12 ล้านบาท ในเบื้องต้น หน้าที่นี้อาจจะต้องเป็นของโรงงานน้ำตาล หรืออาจลงทุนร่วมกับเกษตรกรรายใหญ่ โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนรถตัดอ้อยในด้าน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมาตรการด้านภาษี รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตรถตัดอ้อยให้มีราคาถูกลง เกษตรกรจะได้เข้าถึงมากขึ้น และควรส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปถึงชาวไร่อ้อย เกี่ยวกับสัดส่วนอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ ที่ต้องทำได้ในแต่ละปี โดยมีมาตรการบังคับที่ชัดเจนและจริงจัง ซึ่งจะทำให้สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลดลงหรือหมดไปในระยะข้างหน้า
จากบทความเรื่อง ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิตซึ่งจะสามารถช่วยทำให้เกษตรกรที่ทำไร่อ้อยหันมาใช้รถตัดอ้อยกันมากขึ้น เพราะการใช้รถตัดอ้อยนั้นช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่าการเผาอ้อยที่ส่งผลเสียมากมาย ซึ่งถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
- รถตัดอ้อย THAI-A มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยอย่างไร
- วางแผนใช้งานรถตัดอ้อยอย่างไรให้ใช้งานได้ยาวนาน
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency


ข้อแนะนำในการใช้งานรถตัดอ้อยสำหรับเกษตรกรให้คุ้มค่า
ข้อแนะนำในการใช้งานรถตัดอ้อยสำหรับเกษตรกรให้คุ้มค่า รถตัดอ้อยเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาทางด้านการขาดแคลนแรงงาน และการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งรถตัดอ้อยเป็นเครื่องจักรกลที่ถูกนำมาใช้ทดแทนการว่าจ้างแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะจำเป็นต้องที่จะต้องเร่งตัดอ้อย เพื่อส่งเข้าโรงงานผลิตน้ำตาลให้ทันช่วงเวลาหีบอ้อย การใช้รถตัดอ้อยของเกษตรกรในปัจจุบันยังจำกัดอยู่แค่ในส่วนของเกษตรกรรายใหญ่ และเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญาส่งอ้อยเข้าโรงงานของโรงงานน้ำตาลแต่ละแห่ง เนื่องจากการลงทุนในรถตัดอ้อยเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าสูง นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ การซ่อมบำรุง การดูแลรักษา จึงจำเป็นที่เกษตรกรต้องมีการคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ดังต่อไปนี้

1. ควรมีการใช้รถตัดอ้อยให้ได้ปริมาณการตัดอ้อยที่มากกว่า 10,000 ตันต่อปีหรือต่อฤดูหีบ โดยเฉพาะรถตัดอ้อยมือหนึ่งขนาดใหญ่ เนื่องจากมีราคาที่สูง ส่งผลทำให้ต้นทุนคงที่สูงขึ้น ดังนั้น หากเกษตรกรตัดอ้อยได้ปริมาณที่เต็มประสิทธิภาพของรถตัดอ้อยก็จะช่วยลดต้นทุนในส่วนของต้นทุนคงที่ได้ และก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้ต่ำกว่าประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย
2. ในการใช้รถตัดอ้อยควรมีการเตรียมแปลงให้เหมาะสม กล่าวคือแปลงอ้อยที่จะใช้รถตัดจะต้องไม่มีหิน เพราะจะทำให้ใบมีดสับล่างของรถตัดอ้อยหัก ส่งผลทำให้ต้นทุนการตัดเพิ่มขึ้น เพราะต้องเปลี่ยนใบมีดและหยุดตัดอ้อย นอกจากนี้เพื่อให้รถตัดอ้อยตัดได้อย่างสม่ำเสมอ จึงไม่ควรมีตอไม้ และในส่วนของการเตรียมแปลงอ้อย ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.4 เมตร เพื่อไม่ให้รถตัดอ้อยเหยียบตออ้อยเสียหาย ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตอ้อยที่จะได้และยังส่งผลต่อผลผลิตอ้อยในปีถัดไปที่จะไว้ตอ นอกจากนี้ขนาดความยาวของแปลงอ้อยก็ไม่ควรที่จะสั้นเกินไป เพราะการที่แปลงอ้อยมีขนาดเล็กและสั้นจะมีผลทำให้รถตัดอ้อยต้องกลับหัวบ่อย ส่งผลต่อการสิ้นเปลืองน้ำมัน การใช้รถตัดอ้อยต้องมีความยาวของแปลงไม่น้อยไปกว่า 160 เมตร
3. ในการใช้รถตัดอ้อยมือสองเกษตรกรผู้ซื้อรถตัดอ้อยจะต้องพิจารณาจำนวนชั่วโมงการใช้งานของรถตัดอ้อย เนื่องจากหากรถตัดอ้อยมือสองถูกใช้งานมากเกินไปจะมีผลต่อค่าน้ำมัน
4. ทักษะของคนขับรถตัดอ้อยเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการใช้รถตัดอ้อย เพราะหากคนขับรถตัดอ้อยไม่มีความชำนาญก็จะส่งผลทำให้เกิดการเหยียบตออ้อย หรือขับรถตัดอ้อยไม่สัมพันธ์กับกล่องหรือรถที่รับอ้อย ก่อให้เกิดความสูญเสียอ้อยระหว่างตัด

จากบทความข้างต้นหากเกษตรกรมีปริมาณอ้อยถูกต้อง และมีการเตรียมแปลงที่เหมาะสม รวมถึงมีความพร้อมก็ควรลงทุนซื้อรถตัดอ้อยเป็นของตนเอง ซึ่ง Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รถตัดอ้อยดียังไง ?
- เตรียมไร่อ้อยยังไงให้รถตัดอ้อยทำงานง่าย
- วิธีการตรวจสอบระบบรถตัดอ้อยให้พร้อมใช้งาน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency


วิธีการตรวจสอบระบบรถตัดอ้อยให้พร้อมใช้งาน
วิธีการตรวจสอบระบบรถตัดอ้อยให้พร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มต้นใช้งานรถตัดอ้อยควรตรวจเช็คระบบการทำงานของรถตัดอ้อยเสียก่อน ผู้ใช้งานจะได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเพื่อความสบายใจของผู้ใช้งาน หากผู้ใช้งานรถตัดอ้อยไม่ทำการตรวจเช็ครายละเอียดต่าง ๆ มักจะส่งผลให้ระบบอุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ซึ่งจะนำในเรื่องการเสียเงินและเสียเวลาในภายหลัง

ขั้นตอนการตรวจสอบ
1. ตรวจสอบดูระดับน้ำมันว่าอยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานหรือไม่ หลอดแก้ววัดระดับน้ำมันไฮดรอลิคที่ใช้ในตัวรถตัดอ้อย จะดุูว่าระดับของน้ำมันไฮดรอลิคอยู่ในรถดับที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งจะมีเส้นแบ่งเขตให้ได้ดูและตรวจสอบ
2. ตรวจสอบจุดหมุนต่างว่าติดขัดตรงใหนบ้าง ดูลูกปืนว่ามีการแตกจุดใหนบ้าง
3. ตรวจสอบ ลมยาง รถว่าอ่อนเกินไปหรือไม
4. ตรวจสอบความสกปรกภายในระบบกรอง อากาศของเครื่องยนต์ และระบบน้ำมันไฮดรอลิค
5. ตรวจสอบชุดโซ่ลำเลียงว่ามีการสึกหรหรือไม่ ชุดใบมีดสับ และโคนสับท่อนในรถตัดอ้อย
6. ระบบเครื่องยนต์ ไม้วัดระดับน้ำมันเครื่อง ว่าระดับน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เหมาะกับการทำงานหรือไม่ ซึ่งจะมีจุดสังเกตได้ว่าไม้วัดจะมีขีดระดับให้ได้ดูกัน ว่าระดับน้ำมันอยู่ในระดับใด
7. ระดับน้ำในหม้อน้ำที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เบื้องต้นให้ตรวจสอบระดับน้ำว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ระดับน้ำจะต้องอยู่สูงกว่าเซนเซอร์ ประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งตัวถังจะมีเซนเซอร์แจ้งเตือนระดับน้ำ
8. เมื่อตรวจสอบทั้ง 7 จุดแล้ว ลำดับที่ 8 ต้องทำการเปิดสวิสซ์รถตัดก่อน เพื่อตรวจสอบจุดที่ 8
ในการตรวจสอบจุดที่ 8 จะทำการตรวจสอบหน้าจอการทำงานในห้องขับขี่ ทำการเปิดสวิสซ์เครื่องยนต์หน้าจอจะทำการโหลดข้อมูลของเครื่องรถตัดอ้อยต่าง ๆ
- ตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงว่าเหลือกี่เปอร์เซ็น
- ตรวจสอบแรงดันของแบตเตอรี่ว่าเหลือเท่าใด
- ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ดูอุณหภูมิน้ำมันไฮดรอลิคว่าอยู่ที่เท่าใด ถ้าอุณหภูมิไม่ถึง 45 องศา ระบบการทำงานจะทำงานแค่ระบบขับเคลื่อน แต่ถ้าอุณหภูมิถึง 45 องศาแล้ว จะสามารถเปิดระบบการทำงานต่าง ๆ ได้
- หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์รถตัดอ้อยให้ดูแรงดันน้ำมันเครื่องว่าแรงดันขึ้นหรือไม่
- ดูรอบความเร็วของเครื่องยนต์ ซึ่งจะตั้งที่ 800 รอบต่อนาที
- แรงดันไฟฟ้าในแบตเตอรี่ หากไดร์ชาร์จทำงานปกติ แรงดันไฟฟ้าจะขึ้นอยู่ที่ 13.7 โวล
9. ฟังก์ชั่นที่ทดสอบระบบเคลื่อนไหว
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของเกลียวอ้อยด้านซ้าย ด้านขวา
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของการการทำงานขึ้นลงสะพาน
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของการยกตัวรถตัดอ้อย
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของการเบนหาง
- โยกคอนโทรล ตัวการตัดยอดอ้อย
- หมุนพวงมาลัย ตัวการทำงานของการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานสะพาน
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานสับท่อน
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานตัดโคน
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานระบบไฟฟ้า
การตรวจเช็คระบบรถตัดอ้อยก่อนใช้งานเป็นผลดีกับรถตัดอ้อยและเป็นผลดีต่อตัวผู้ใช้งานเสมอ เพราะจะไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและผลเสียต่อการใช้งาน หากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตรถตัดอ้อย ผลิตรถตัดอ้อยรายใหญ่ โรงงานชิ้นส่วนรถตัดอ้อย Thai-A เราพร้อมให้บริการและพร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องรถตัดอ้อยแบบครบวงจร
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ชิ้นส่วนใดของรถตัดอ้อย MAX MH360 ที่ใช้ระบบไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิค
- การรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตรที่ใช้กับรถตัดอ้อย
- ปรับเขตแปลงอ้อยก่อนใช้รถตัดอ้อยดียังไง ?
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency


รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ฝีมือไทยทำนำกำไรสู่ชาวไร่อ้อย
รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ฝีมือไทยทำนำกำไรสู่ชาวไร่อ้อย กว่าจะได้อ้อยแต่ละตันทำเอาชาวไร่อ้อยลมจับ ครั้นจะให้ตัดอ้อยไฟไหม้ก็ถูกหักกำไร แต่จะให้ตันอ้อยสดแรงงานก็ขาด แบบนี้แย่แน่..
แต่วันนี้ Thai-A มองเห็นถึงความจำเป็นในการตัดอ้อยของชาวไร่อ้อยทุกคนจึงได้ออกแบบและผลิตรถตัดอ้อยคันเล็กแต่คุณภาพไม่เล็ก ฝีมือไทยประดิษฐ์ที่มองเห็นโครงสร้างไร่อ้อยไทย และออกแบบรถตัดอ้อยเพื่อการตัดอ้อยพื้นที่ดินของไทยได้อย่างตรงจุด หมดกังวลเรื่องดินไม่เรียบ รถโคลงเคลงขนะตัดอ้อย ลดปัญหาตัวถังเบี้ยว แตกร้าว ยากต่อการซ่อมแซมและหาอะไหล่ให้ตรงรุ่น

ข้อดีของการใช้รถตัดอ้อย
- การใช้รถตัดอ้อยช่วยลดปัญหาด้านแรงงานคน
- การใช้รถตัดอ้อยนั้นปริมาณน้ำตาลในอ้อย มากกว่าการตัดอ้อยโดยการเผา
- ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ
- ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
พวกเรา Thai-A เราจึงอยากให้ชาวไร่อ้อยทุกท่านได้ตะหนักถึงการตัดอ้อยสดไม่ว่าจะใช้ทรัพยากรณ์คนหรือเลือกใช้รถตัดอ้อยก็เห็นสมควรทั้งสิ้น การเลือกใช้รถตัดอ้อยฝีมือคนไทยทำแน่นอนว่าราคาถูกลงแต่คุณภาพจัดเต็มเพราะเราฟังเสียงจากชาวไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดอ้อยให้ดียิ่งขึ้น

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยท่านลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@teacgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

รู้ก่อนใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย
รู้ก่อนใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย ต้องบอกว่าในช่วงเวลานี้การใช้แรงงานคนได้ถูกลดทอนลงไป เมื่อคนไทยสามารถผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ทดแทนแรงงานคนได้ แถมยังประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการผลิตอีกด้วย ยกตัวอย่างการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรอย่างรถตัดอ้อย ที่สมรรถนะสูงแสดงฝีไม้ลายมือตะลุยตัดอ้อยแทนการใช้แรงงานคนได้มากที่สุดจากสถิติของบริษัทน้ำตาลชื่อดังที่เคยบันทึกไว้คือ 825 ตันต่อคันต่อวัน
โดยรถตัดอ้อยคันหนึ่งมีความสามารถในการทำงานตัดอ้อยเฉลี่ย 100-300 ตันต่อวัน ช่วยทดแทนแรงงานคนที่นับวันจะหายากขึ้นเรื่อย ๆ และลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการแรงงานคนได้อีกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานคนแล้ว พื้นที่ 100 ไร่ อาจจะใช้รถตัดอ้อยตัดเพียง 2 วัน คนร่วมด้วยเพียง 1-2 คน แต่หากใช้แรงงานคนต้องใช้มากถึง 30 คน กินเวลานานถึง 1 สัปดาห์ เลยทีเดียว

ขั้นตอนการทำงานของรถตัดอ้อยจะต้องทำงานควบคู่ไปกับรถตะกร้าหรือที่เรียกอีกอย่างว่ารถบิน รถชนิดนี้จะคอยทำหน้าที่รับท่อนอ้อยที่ผ่านการตัดท่อนอ้อยจากรถตัดอ้อยและขนถ่ายโดยรถเทรลเลอร์เพื่อส่งตรงยังโรงงานน้ำตาล เป็นระบบการเก็บเกี่ยวอ้อยที่ให้กำไรมากกว่าการเก็บอ้อยไฟไหม้ แต่ทั้งนี้การเก็บเกี่ยวอ้อยที่ดียังมีปัจจัยอีกมากมายจากการใช้รถตัดอ้อย หากอยากได้อ้อยที่มีคุณภาพช่วยสร้างกำไรเราตามมาดูปัจจัยเหล่านี้กันค่ะ
- แปลงอ้อยที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยควรมีความยาวของแถวอ้อยมากกว่า 250 เมตร เพราะหากมีแปลงอ้อยที่เล็กเกินไปจะทำให้รถตัดอ้อยทำงานได้ไม่สะดวก เสียเวลาย้ายแปลง จากการกลับรถตัดอ้อยบ่อยครั้ง อีกทั้งเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง
- ถนนหัวแปลงและท้านแปลงอ้อยควรมีความราบเรียบ สม่ำเสมอ และมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ในความสูงที่เท่ากันกับแปลงอ้อย เพื่อความสะดวกในการกลับรถตัดอ้อย และลดการเหยียบย่ำอ้อยในแปลง โดยระยะระหว่างแถวอ้อยที่ดีทุดคือ 1.85 เมตร หากเป็นร่องอ้อยที่แคบกว่านี้ รถตัดอ้อยสามารถตัดอ้อยได้แต่จะเกิดความเสียหายจากยางหลังที่เหยียบย่ำอ้อยในแถวถัดไปที่ยังไม่ได้ตัด ทำให้อ้อยแตกหักเสียหายไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้หรือเก็บเกี่ยวได้แต่ก็มีการสูญเสียเรื่องน้ำหนักอ้อย
- ความเหมาะสมของรูปร่างเบด เพื่อให้สามารถตัดอ้อยได้ชิดติดดิน และให้หน่อของอ้อยตอเกิดจากใต้ดิน รูปร่างของเบดควรจะต้องมีลักษณะโค้งมนหรือสันเหลี่ยมก็ได้ มีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร ไม่มีหลุมบ่อที่จะทำให้อ้อยตกค้างในแปลงแต่ละร่อง จะทำให้เก็บเกี่ยวอ้อยได้ดีที่สุด ควรมีการปรับระดับพื้นที่เพื่อให้มีการระบายน้ำในแปลงได้ดี ป้องกันปัญหาอ้อยงอกไม่สม่ำเสมอและลดความเสี่ยงของรถตัดอ้อยติดหล่ม
- การจัดโซนนิ่งรถตัดอ้อย โดยปรับให้แปลงอ้อยที่อยู่ติดกัน มีระยะร่องรองรับรถตัด เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้รถตัดอ้อยได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : MITR PHOL ModernFarm

เราจึงอยากให้ชาวไร่อ้อยได้ตะหนักถึงการดูแลแปลงอ้อยก่อนการใช้รถตัดอ้อยให้คงสภาพดีอยู่เสมอ และได้ใช้รถตัดอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย Max รถตัดอ้อยไทยประดิษฐ์ รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยทลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
บทความที่เกี่ยวข้อง

มาเตรียมความพร้อมรถตัดอ้อย เพื่อการเก็บเกี่ยวและถ่ายอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ
มาเตรียมความพร้อมรถตัดอ้อย เพื่อการเก็บเกี่ยวและถ่ายอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับรถตัดอ้อย หากจะให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกเหนือจากความพร้อมของรถตัดอ้อยเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของรถบรรทุก หรือรถกล่อง และรถลำเลียงอ้อยด้วย ควรตรวจเช็กความพร้อมของเครื่องจักรในการขนส่งอ้อย เช่น ตรวจเช็กระบบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ระบบไฟฟ้า ระบบแตร และยางให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน

ก่อนเริ่มใช้รถตัดอ้อยเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง ?
ต้องจัดเตรียมผ้าคลุมกระบะบรรทุกอ้อย ให้คลุมได้มิดชิด ป้องกันท่อนอ้อยตกหล่นตามท้องถนน สำหรับรถตัดอ้อยคันไหนที่ใช้รถลำเลียงอ้อย ต้องจัดเตรียมรถแทรกเตอร์ที่จะใช้ลากรถลำเลียงอ้อย โดยรถลำเลียงอ้อยขนาดบรรทุก 6 ตัน รถแทรกเตอร์ต้องมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 80 แรงม้า และรถลำเลียงอ้อยขนาดบรรทุก 8 ตัน รถแทรกเตอร์ต้องมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 100 แรงม้า
สำหรับการวางแผนการใช้รถตัดอ้อยเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยที่ดี ควรจัดการทรัพยากรเครื่องจักรให้เหมาะสม ดังนี้
อัตราส่วนรถตัดอ้อยต่อรถบรรทุกอ้อย
- ระยะทางขนส่งอ้อย 1-40 กม. ต้องมีรถบรรทุก 6-8 กล่อง
- ระยะทางขนส่งอ้อย 41-80 กม. ต้องมีรถบรรทุก 10 กล่อง
- ระยะทางขนส่งอ้อย 80 กม. ขึ้นไป ต้องมีรถบรรทุก 12 กล่อง
หากละเลยการดูแลรถตัดอ้อยก่อนการใช้งานก็จะทำให้รถตัดอ้อยนั้นทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ ยกตัวอย่างรถตัดอ้อยไหม้ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 เนื่องจากจอดทิ้งนานและไม่ได้เช็กความพร้อมก่อนเมื่อนำรถออกมาใช้งาน เช่นระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบเครื่องยนต์ รวมถึงระบบไฮดรอลิค และระบบความปลอดภัยต่าง จุดต่างๆถ้าไม่ได้ดูแลจริงจัง อาจเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ต่าง และ การลัดวงจร และทำให้เพลิงไหม้รถตัดอ้อยได้นั่นเองค่ะ
เราจึงอยากให้ชาวไร่อ้อยได้ตะหนักถึงการดูแลรถตัดอ้อยให้คงสภาพดีอยู่เสมอ และได้ใช้รถตัดอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยท่านลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency