ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อป ออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

ด้วยความจำเป็นของสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาดหนักในช่วงนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้ปรับเปลี่ยนระบบ ที่จากเดิมนั้นการไฟฟ้านครหลวงได้เปิดให้ผู้ใช้ได้ขอรับบริการขายไฟในโครงการโซล่าภาคประชาชนอัปโหลดเอกสารผ่านเว็บไซต์ https://spv.mea.or.th/ แต่ปัจจุบันในปี 2564 นี้ทางการไฟฟ้านครหลวงปรับเปลี่ยนเป็น My Energy MEA เพื่อรวบรวมบริการของผู้ใช้ไฟ (ไม่ขายไฟ) สามารถยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องไปยื่นเอกสารที่การไฟฟ้านครหลวงเขตแล้ว และยังสามารถติดตามว่าเอกสารดำเนินการไปถึงขั้นไหนแล้ว ทำให้เราไม่ต้องโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าให้เสียเวลา

สำหรับขั้นตอนการยื่นขอขายไฟและขนานไฟสำหรับผู้ที่ไม่ขายไฟดังนี้

1. ขั้นแรกให้เข้าไปที่เว็บไซต์  https://myenergy.mea.or.th และกดที่ ‘เข้าสู่ระบบ’ จากนั้นกดที่ ‘ลงทะเบียน

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


2. กรอกข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานให้ครบถ้วน และคลิกลงทะเบียน

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


3. สมัครเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวง คลิก สมัครเข้าร่วมโครงการ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


4. กรอกข้อมูลเครื่องวัดฯ และคลิก ตรวจสอบข้อมูล จากนั้นกรอกข้อมูลแบบคำขอฯ เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


สำหรับผู้ที่เคยใช้ระบบ SPV แล้วสามารถยืนยันตัวตนง่าย ๆ ได้ดังนี้

1. สร้างบัญชีผู้ใช้งานกับระบบ My Energy

2. กรอก ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่เคยกรอกข้อมูลไว้ในระบบ SPV

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


หมายเหตุ: ระบบจะค้นหาแบบคำขอฯ ที่เคยสมัครเข้าร่วมโครงการไว้ จากข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน

3. เข้าสู่ระบบ My Energy ด้วยบัญชีผู้ใช้งานของคุณ

4. ระบบจะค้นหาและแสดงแบบคำขอฯ ที่คุณเคยลงทะเบียนไว้

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


5. หากไม่พบรายการแบบคำขอฯ ที่เคยลงทะเบียนไว้ คุณสามารถค้นหาแบบคำขอฯ ได้โดยคลิกที่ บัญชีผู้ใช้งาน จากนั้นเลือก เพิ่มเครื่องวัดฯ

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


6. กรอกรหัสเครื่องวัดฯ และบัญชีแสดงสัญญาฯ ที่ท่านเคยสมัครเข้าร่วมโครงการ จากนั้นคลิก ตรวจสอบข้อมูล

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


7. เลือกประเภทการเข้าถึงข้อมูลแบบคำขอฯ จากนั้นคลิก บันทึก

ขออนุญาตติดตั้งโซล่ารูฟท็อปออนไลน์กับ MEA ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
ขอบคุณรูปภาพจาก myenergy.mea.or.th


โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและกดยืนยัน เพื่อส่งให้ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าพิจารณาด้านเทคนิค ว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางการไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่ และจะส่งผลพิจารณากลับมาที่ผู้ยื่นขอ โดยทั่วไปแล้วอาจจะใช้เวลาแต่ละขั้นตอน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และรวมทุกขั้นตอนจนถึงขนานไฟ อาจจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน

ทั้งนี้ แม้ว่าระบบจะอำนวยความสะดวกในการยื่นเอกสารออนไลน์แล้ว แต่ว่ายังมีส่วนที่ต้องไปยื่นเอกสารตัวจริงอยู่ เช่น สัญญาซื้อขายไฟที่จำเป็นจะต้องไปเซ็นที่การไฟฟ้าเขตกับเจ้าหน้าที่ เพราะจะต้องมีลายเซ็นของทั้งผู้บริหารของการไฟฟ้าและผู้ขายไฟ แต่อย่างไรก็ดีก็มีความสะดวกกับผู้ที่ไม่ได้ขายไฟมากยิ่งขึ้น ยื่นเอกสารและรอตรวจความเรียบร้อยของระบบโซล่ารูฟท็อปเลย ไม่ต้องเซ็นสัญญาและมากไปกว่านี้ ยังมีการขออนุญาตส่วนต่าง ๆ เช่น การขอเรื่องความ มั่นคงแข็งแรง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ใบอนุญาตของ กกพ. (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) ซึ่งจะต้องส่งให้ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าพิจารณาก่อนการขนานไฟนั่นเองค่ะ

อ้างอิง:  https://spv.mea.or.th/

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้

ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้ ?

ติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไหนที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้ ?

การไฟฟ้านครหลวง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ ส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา หรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการ ในเขตพื้นที่ให้บริการของ MEA คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งหากต้องการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้านั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ MEA โดยจะต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า รวมถึงป้องกันเหตุอันตรายกับเจ้าหน้าที่ MEA ที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งไม่ให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและคุณภาพโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า

ขอบคุณรูปจาก www.mea.or.th

โดยการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปที่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้าได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร (ไม่ขายไฟฟ้า)

ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทสามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่ารูฟท็อป ขนานกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือสถานประกอบการเป็นหลัก โดยไม่ขายไฟฟ้าให้กับ MEA โดยการยื่นแบบคำขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ MEA เพื่อให้พิจารณาตามระเบียบ MEA ว่าด้วย ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า การใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า และการปฏิบัติการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งประกาศใช้ ณ ปัจจุบัน

2. โครงการโซล่ารูฟท็อปภาคประชาชน (การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA)

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของ MEA ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขาย ส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

3. โครงการโซล่ารูฟท็อปกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล (การติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเพื่อใช้ภายในอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้ MEA)

การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับกลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาล และสูบน้ำเพื่อการเกษตร (โครงการนำร่อง) พ.ศ. 2564 ที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา โดยติดตั้งเพื่อใช้เองเป็นหลักและขายส่วนที่เหลือให้กับ MEA ในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1 บาท/หน่วย โดยมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

ทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถยื่นขออนุญาตกับโครงการพลังงานหมุนเวียน MEA ได้เลยค่ะ และหากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ มอก แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
บ้านแบบไหนที่ติด โซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?
ติดโซล่ารูฟท็อปหลังคา

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ? เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมบางบ้านติดระบบโซล่ารูฟท็อปอยู่บนหลังคา แต่บางบ้านก็ไม่มี แล้วบ้านของเราติดโซล่ารูฟท็อปดีไหม? จะประหยัดจริง ๆ หรือเปล่า วันนี้แอดมินมาคลายสงสัยให้ค่ะ

โซล่ารูฟท็อปคือการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคา มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ และเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ ได้ เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ยังสามารถส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย

บ้านแบบไหนที่ติดโซล่ารูฟท็อปแล้วคุ้มค่า ?
ระบบโซล่ารูฟท็อป

แต่ทั้งนี้แต่ละบ้านก็จะมีการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นมาเช็กกันค่ะ ว่าบ้านคุณพร้อมมีโซล่ารูฟท็อปเพื่อประหยัดไฟเหมือนบ้านคนอื่น ๆ ไหม

1. ใช้ไฟ – เปิดแอร์ในช่วงเวลากลางวัน

โซล่ารูฟท็อปจะผลิตกระแสไฟได้ดีในตอนกลางวัน ฉะนั้นบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันจะเหมาะกับระบบโซล่ารูฟท็อปเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีแสงแดดแผงโซล่าเซลล์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ก็จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นจะส่งเป็นยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นกระแสสลับ และนำไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทันที

2. ใช้ไฟรายเดือนเป็นจำนวนมากกว่า 4000 ขึ้นไป

หากบ้านไหนที่ใช้ไฟกลางวันจริงแต่ก็ใช้น้อยไม่ได้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็อาจจะคืนทุนช้า แต่สามารถนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลือขายส่งต่อการไฟฟ้าได้ แต่บ้านไหนที่ใช้ไฟเยอะเปิดแอร์หลายตัวการใช้ระบบโซล่ารูฟท็อปจะช่วยลดพลังงานได้ 30 – 60% เลยทีเดียว

3. ทิศบ้านก็สำคัญ

ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะรับแสงแดดได้ดี ดังนั้นหากจะให้ดีที่สุดทิศบ้านที่เหมาะสมกับการติดโซล่ารูฟท็อปคือทิศใต้ เนื่องจากเป็นทิศที่สามารถได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ถึงต่อให้รับแดดแรงขนาดไหนแต่มีระบบโซล่ารูฟท็อปก็ช่วยประหยัดไฟเปิดแอร์ปรับอากาศได้สบาย

4. ไร้เงาตกกระทบหลังคา

ติดระบบโซล่ารูฟท็อปจะต้องดูเรื่องแสงและเงาที่ตกกระทบ จึงต้องออกแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้บังบริเวณที่ติดตั้งทำให้ระบบโซล่ารูฟท็อปผลิตไฟฟ้าได้น้อย และทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ทั้ง 4 ข้อนี้ก็อย่าลืมนำไปเช็กเบื้องต้นกันนะคะว่าควรติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปดีไหม หากต้องการติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปมีความจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจหน้างาน เพื่อประเมินความพร้อมและดูความเหมาะสมของพื้นที่หน้างานก่อนติดตั้ง เพื่อออกแบบระบบโซลาร์ให้มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงสุด แต่บอกเลยค่ะว่าบ้านไหนที่ติดยังไงก็ช่วยประหยัดค่าไฟแถมนำไปขายคืนสู่การไฟฟ้าได้อีกด้วย คุ้มจริง ๆ ค่ะ

หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

บทความที่น่าสนใจ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
3 ระบบโซล่ารูฟท็อป ช่วยลดค่าไฟ

3 ระบบโซล่ารูฟท็อปช่วยลดค่าไฟ

3 ระบบโซล่ารูฟท็อปช่วยลดค่าไฟ

โซล่ารูฟท็อป คือ ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักกันมาบ้างแล้ว หากใครที่ยังไม่รู้ว่าโซล่ารูฟท็อปคืออะไรคลิกอ่านได้ที่บทความ โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ? ทีนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของมันกันก่อนค่ะ เพราะจะมีผลต่อ การออกแบบโซล่ารูฟท็อป สำหรับติดตั้งให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน ซึ่งโซล่ารูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 3 แบบดังนี้


1. Solar Roof Top แบบ On Grid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบออนกริด (On-grid System) ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตเหลือจากการใช้ในแต่ละวันสามารถขายคืนให้กับทางภาครัฐได้ ถือเป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ทั้งบ้านและภาคธุรกิจ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพราะเน้นการใช้งานจริงในตอนกลางวัน และตอนกลางคืนสลับไปใช้ไฟปกติ

2. Solar Roof Top Off Grid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยใช้แบตเตอรี่ แต่ไม่เชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบออฟกริด (Off-grid System) เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่สำรอง (Off-grid) โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับสายของการไฟฟ้าฯ โดยโซล่าเซลล์จะผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัว Charge Controller เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ กระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ inverter แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน

3. Solar Roof Top Hybrid System

ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโดยใช้แบตเตอรี่ และเชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบไฮบริด (Hybrid System) ซึ่งเป็นการนำเอาระบบออนกริดและออฟกริดมารวมกัน (Hybrid) คือจะมีระบบแบตเตอรี่ มาสำรองพลังงาน หลักการทำงาน คือ เมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็จะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายังไฮบริดอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ขั้วหนึ่งต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่าง ๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบโซล่ารูฟท็อปไปกันไม่น้อยเลยนะคะ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ มอก ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
โซล่ารูฟท็อป คืออะไร

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ?

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร ?

พูดได้เลยว่าประเทศไทยมีครบทุกฤดูร้อน ฝน หนาว แต่โดยส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นฤดูร้อนที่ใคร ๆ ต่างก็พากันหลบร้อนหรือหนีร้อนด้วยการเปิดเครื่องปรับอากาศ จึงทำให้หลาย ๆ บ้านพบเจอกับปัญหาค่าไฟฟ้าสูง ปรี๊ด ชวนเป็นลมกว่าเดิม แต่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้หยิบยกการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือที่เรียกว่าโซล่าเซลล์มาใช้ประโยชน์ได้ดีมากขึ้น โดยนำแผงโซล่าเซลล์มาติดบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย และบนอาคารต่าง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โซล่ารรูฟท็อป” (Solar Rooftop) เพื่อให้บ้านทุกหลังที่ติดตั้งได้ทำการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในเวลากลางวัน เป็นการประหยัดไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้นำไฟฟ้าที่เหลือส่งต่อขายให้กับหน่วยงานของรัฐอีกด้วย

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร ?

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) คือการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาติดตั้งบนหลังคาบ้านเรือนหรือที่พักอาศัยที่มีหลังคา มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวแผงผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสตรง (DC) ส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC)  โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน เท่านี้ เราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่าง ๆ ได้แล้ว เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ทั้งนี้ยังสามารถส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบ ๆ ได้อีกด้วย


ขั้นตอนการทำงานของโซล่ารูฟท็อป

1. แผงโซล่าเซลล์จะรับแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

2. กระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะส่งผ่าน DC Fuse (อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน) ส่งต่อไปยัง Inverter (เครื่องแปลงไฟฟ้า)

3. Inverter จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็น กระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยัง AC Surge Protector

4. AC Surge Protector (อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก) จากนั้นก็จะส่งผ่าน ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน

5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านจะส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน


บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าเซลล์ รับออกแบบ ติดตั้ง ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งโซล่ารูฟ โซล่าฟาร์ม พร้อมทั้งเป็นผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และจำหน่ายอุปกรณ์ Mounting

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร


Package โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) 3 kWp

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร


Package โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) 5 kWp

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร


Package โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) 10 kWp

โซล่ารูฟท็อป คืออะไร



เป็นอย่างไรกันบ้างคะหวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับระบบโซล่ารูฟท็อปไปกันไม่น้อยเลยนะคะ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More