
ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี การทำไร่อ้อยสมัยใหม่ เน้นเรื่องการวางแผนกิจกรรมในไร่อ้อย โดยใช้รถตัดอ้อยเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำงาน เพื่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงาน เพื่อให้ชาวไร่มีเวลาไปทำกิจกรรมเกษตรด้านอื่น ๆ แต่หากชาวไร่อ้อยนำรถตัดอ้อยมาใช้งานอย่างผิดวิธี ความเสียหายตามมาที่จะเกิดขึ้น มีทั้งสูญเสียวัสดุอุปกรณ์โดยใช่เหตุ เสียเงินซ่อมแซมเครื่องมือที่ชำรุดเสียหาย และที่สำคัญเสียเวลาในการทำงานอีกด้วย วันนี้แอดมินจะมาแนะนำให้ชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี

ความรู้เรื่องรถตัดอ้อยเบื้องต้น
สำหรับรถตัดอ้อย หากจะให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกเหนือจากความพร้อมของรถตัดอ้อยเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของรถบรรทุก หรือรถกล่อง และรถลำเลียงอ้อยด้วย ชาวไร่จึงควรตรวจเช็กความพร้อมของรถตัดอ้อย เช่น ตรวจเช็กระบบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ ระบบเบรก ระบบไฟฟ้า ระบบแตร และยางให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน และต้องจัดเตรียมผ้าคลุมกระบะบรรทุกอ้อย ให้คลุมได้มิดชิด ป้องกันท่อนอ้อยตกหล่นตามท้องถนน ที่สำคัญรถตัดอ้อยทุกคันต้องผ่านการตรวจสภาพ เพื่อขอสติ๊กเกอร์รับรองการตรวจสภาพรถ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมจำพวกเศษเหล็กหลุดเข้าสู่โรงงานน้ำตาลอีกด้วย
สำหรับรถตัดอ้อยคันไหนที่ใช้รถลำเลียงอ้อย ต้องจัดเตรียมรถแทรกเตอร์ที่จะใช้ลากรถลำเลียงอ้อย โดยรถลำเลียงอ้อยขนาดบรรทุก 6 ตัน รถแทรกเตอร์ต้องมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 80 แรงม้า และรถลำเลียงอ้อยขนาดบรรทุก 8 ตัน รถแทรกเตอร์ต้องมีกำลังเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 100 แรงม้า

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้รถตัดอ้อยผิดวิธี
- ทำให้อ้อยที่ได้จากการใช้รถตัดอ้อยมาไม่ได้มาตรฐาน
- เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนของรถตัดอ้อย
- เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
- เสียเวลาที่ต้องกลับมาแก้ไขใหม่
- ทำให้ผลผลิตอ้อยไม่ดีตามที่ควรจะเป็น และเสียโอกาสในการรับผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย
หลักการพื้นฐานในการใช้งานรถตัดอ้อย ให้ถูกต้อง
- สำรวจแปลงหรือพื้นที่ที่จะทำกิจกรรม
- กำหนดขั้นตอนการทำงานรถตัดอ้อย
- เตรียมรถตัดอ้อยที่ต้องใช้งานให้พร้อม
- กำหนดผู้ตรวจสอบทั้งคุณภาพของอ้อยและคุณภาพของรถตัดอ้อย
- กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ทราบต้นทุนของงานว่าเกินงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่
ดังนั้น เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ และไม่เกิดความเสียหาย การเลือกใช้รถตัดอ้อยให้ถูกวิธีตามแผนงานที่กำหนดไว้ เป็นการทำไร่อ้อยที่เกิดประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุน ลดเวลาในการทำงาน และได้งานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
- รถตัดอ้อย THAI-A มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยอย่างไร
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID : @thaiagency


ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิต
ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิต สังเกตได้ว่าการเผาอ้อยเป็นมลพิษ เพิ่มฝุ่น PM2.5 แล้วยังทำให้คุณภาพอ้อยลดลง ทำให้ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้รถตัดอ้อยสด เพราะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้ต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้ แต่ปัจจุบันรถตัดอ้อยยังมีไม่ทั่วถึง ส่งผลให้สัดส่วนการตัดอ้อยไฟไหม้ในแต่ละปียังคงมีสูง ซึ่งกระทบต่อรายได้ของชาวไร่อ้อยทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งเสริมและสนับสนุนรถตัดอ้อยมากขึ้น จะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่โรงงานน้ำตาลได้อ้อยคุณภาพเข้ากระบวนการผลิต และยังเป็นผลดีต่อปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ลดลง

- การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในปัจจุบัน
การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล นิยมใช้วิธีเผาอ้อยก่อนตัด โดยอ้อยไฟไหม้มีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 63.3 ในช่วง 10 ปีการผลิตที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรนอกจากจะถูกหักค่าอ้อยในเรื่องคุณภาพแล้ว ยังเป็นการเพิ่มฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่อีกด้วย ดังนั้น หากมีการส่งเสริมให้ใช้รถตัดอ้อยสด นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้สุทธิหลายหมื่นบาทต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อยที่ใช้รถตัดอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้

- การแก้ปัญหา
การสนับสนุนให้มีการตัดอ้อยสดเข้าโรงงาน จำเป็นต้องเพิ่มรถตัดอ้อยให้เพียงพอต่อการตัดอ้อยสด ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2,000-2,500 คัน จากจำนวนที่ควรมีคือ 3,400-4,500 คัน นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่การเพาะปลูก ไปสู่รูปแบบการปลูกใหม่ที่เหมาะสำหรับการนำรถตัดอ้อยมาใช้เก็บเกี่ยวก็เป็นสิ่งสำคัญ ความท้าทายของการทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มรถตัดอ้อย ที่มีราคาค่อนข้างสูงถึง 8-12 ล้านบาท ในเบื้องต้น หน้าที่นี้อาจจะต้องเป็นของโรงงานน้ำตาล หรืออาจลงทุนร่วมกับเกษตรกรรายใหญ่ โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนรถตัดอ้อยในด้าน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมาตรการด้านภาษี รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตรถตัดอ้อยให้มีราคาถูกลง เกษตรกรจะได้เข้าถึงมากขึ้น และควรส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปถึงชาวไร่อ้อย เกี่ยวกับสัดส่วนอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ ที่ต้องทำได้ในแต่ละปี โดยมีมาตรการบังคับที่ชัดเจนและจริงจัง ซึ่งจะทำให้สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลดลงหรือหมดไปในระยะข้างหน้า
จากบทความเรื่อง ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิตซึ่งจะสามารถช่วยทำให้เกษตรกรที่ทำไร่อ้อยหันมาใช้รถตัดอ้อยกันมากขึ้น เพราะการใช้รถตัดอ้อยนั้นช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่าการเผาอ้อยที่ส่งผลเสียมากมาย ซึ่งถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
- รถตัดอ้อย THAI-A มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยอย่างไร
- วางแผนใช้งานรถตัดอ้อยอย่างไรให้ใช้งานได้ยาวนาน
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency


Basic hydraulic system
อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน
ไฮดรอลิค มาจากภาษากรีก คือไฮโดร (Hydro) หมายถึง น้ำและออลิส (Aulis) หมายถึง ท่อ ดังนั้นไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของน้ำในท่อ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิค
ส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค (Hydraulic Component)
- ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
- ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
- อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)
- วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
- วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
- วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
- อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
- ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)
ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า
ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ํามันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆและไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน
อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน (Filter and Oil Cooler)
อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค
วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม
วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ
วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ
อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกลซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทํางานที่ เคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรง และมอเตอร์ไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณทำงานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเชิงมุม
ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)
ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ํามันไฮดรอลิคในระบบ

What is hydraulic equipment?
Hydraulic คืออะไร?
ไฮดรอลิค เป็นเรื่องที่ว่าด้วยคุณสมบัติทางกลของของไหล ซึ่งเป็นการส่งถ่ายกำลังในเชิงกลด้วยของไหลที่เป็นของเหลวหรือน้ำมันไฮดรอลิค การส่งกำลังในระบบไฮดรอลิคส่วนใหญ่นั้นอุปกรณ์ทำงาน(Actuator) จะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) เป็นอุปกรณ์ทำงานที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Linear)
- มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor) เป็นอุปกรณ์ทำงานที่เคลื่อนที่ในแนวรัศมี (Radius)
ในระบบไฮดรอลิคที่เราเห็นกันส่วนมากนั้นสิ่งที่เราจะนำไปใช้คือ แรง (Force, F) ที่เกิดจากระบบไฮดรอลิค เช่น การเอาแรงจากกระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder) ไปกด อัด หรือตัดชิ้นงาน และการขับ เช่น การหมุนจากมอเตอร์ไฮดรอลิคไปหมุนขับให้เกิดการหมุนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องจักร
ข้อดีของระบบไฮดรอลิค
เครื่องจักรที่ใช้อุปกรณ์ไฮดรอลิคเป็นส่วนประกอบนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด ทั้งนี้เป็นเพราะข้อดีของอุปกรณ์ไฮดรอลิคบางตัวที่มีดังต่อไปนี้คือ
- อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบากว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าและกลไก อีกทั้งไม่มีความสลับซับซ้อน และสามารถออกแบบให้ตัวเครื่องมีแรงมากได้เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเครื่องจักร ซึ่งสามารถออกแบบให้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิคสูงขึ้น ในกรณีที่ต้องการใช้แรงมากขึ้น - มีความง่ายต่อการควบคุม
เพราะว่าระบบการควบคุมในทางกลไกนั้นจะต้องมีจุดหมุน จุดต่อต่างๆ มาก อาจต้องใช้ข้อต่อและโซ่มากมาย ทำให้ยากต่อการสร้างแก้ไขและดัดแปลง แต่สำหรับระบบไฮดรอลิคแล้ว ต้องการแค่แหล่งกำเนิดแรงดัน , วาล์วเปลี่ยนทิศทาง , อุปกรณ์ทำงาน , และท่อหรือสาย ซึ่งทำให้การควบคุมระยะไกลทำได้ง่าย - ง่ายต่อการควบคุมโหลด
ถ้าหากเราติดตั้งวาล์วปลดแรงดัน (Relief Valve) ลงไปในวงจรก็จะสามารถช่วยป้องกันแรงดันที่สูงผิดปกติในวงจรได้และยังทำให้การควบคุมแรงดันเป็นไปได้อย่างดี ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่เกิดจากแรงดันสูงและควบคุมแรงดันให้คงที่อันจะเป็นผลให้แรงที่ได้จากอุปกรณ์ทำงาน (Actuator) มีความคงที่ - ง่ายต่อการเพิ่มอุปกรณ์ทำงาน
สามารถที่จะปรับปรุงเพิ่มเติมอุปกรณ์ทำงานได้ง่าย เพียงแค่เพิ่มจุดต่อพ่วงแล้วก็ใส่อุปกรณ์ทำงาน พ่วงไปก็สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องแก้ไขทั้งหมดของวงจรให้ยุ่งยาก
หลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค
- แรงดันในระบบปิดจะมีค่าเท่ากันทุกทิศทาง แรงดันที่เกิดขึ้นกับของไหล ที่ส่งผ่านไปกระทำยังผนังของภาชนะปิด จะมีค่าเท่ากันทุกทิศทุกทางไม่ว่ารูปทรงของภาชนะนั้นจะมีรูปง่ายๆ หรือสลับซับซ้อนแค่ไหน (ดังรูป)


จากรูป แรงที่เกิดขึ้นในระบบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่กระบอกสูบ
ดังนั้น ในระบบไฮดรอลิค การที่เราต้องการแรงจากกระบอกไฮดรอลิคมากน้อยแค่ไหน ก็สามารถทำได้โดยการออกแบบกระบอกสูบให้มีพื้นที่หน้าตัดมากน้อยตามต้องการหรือใช้ปั้มที่มีแรงดันสูง
- อัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค (Flow Rate of Hydraulic System)
อัตราการไหล (Flow Rate, Q) คือ อัตราการเคลื่อนที่ของน้ำมันไฮดรอลิคในอัตราส่วนปริมาตรหรือน้ำหนักต่อหน่วยเวลา โดยทั่วไปจะวัดเป็นปริมาตรของการไหลต่อหน่วยเวลาเป็นนาทีหรือวินาที แต่ที่นิยมใช้คือ ลิตร/นาที ถ้ากระบอกสูบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน กระบอกสูบที่มีอัตราการไหลมากกว่าจะเคลื่อนที่เร็วกว่า
เปรียบเทียบระบบไฮดรอลิคกับร่างกายของคน
ในร่างกายมนุษย์เรามีหัวใจเปรียบเสมือนปั้มตัวใหญ่ เรามีปอดที่เปรียบเป็นตัวฟอกเลือดเสมือนตัวกรองเลือดจากเลือดดำเป็นเลือดแดงที่สะอาด เรามีแขนมีขาที่สามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ และทำงานต่าง ๆ เรามีสมองที่คอยคิดและสั่งการว่าจะให้แขนขาเคลื่อนที่ไปทางไหนอย่างไรเสมือนกับระบบของไฮดรอลิคดังรูป

อุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค
อุปกรณ์ไฮดรอลิคหรือส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค คือส่วนที่นำมาประกอบกันเป็นระบบไฮดรอลิคซึ่งที่สำคัญ ๆ ก็มีดังต่อไปนี้
- ปั้มไฮดรอลิค
ปั้มไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจากการหมุน ซึ่งขับโดยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นตัวส่งน้ำมันไฮดรอลิคเข้าสู่วงจรไฮดรอลิค เมื่อใดก็ตามที่เครื่องยนต์หรือมอเตอร์หมุนปั้มก็จะทำงานไปด้วย - กระบอกสูบไฮดรอลิค (Hydraulic Cylinder)
กระบอกไฮดรอลิคนั้นเราสามารถที่จะแบ่งได้เป็นสองประเภทตามทิศทางของแรงที่กระทำบนลูกสูบคือ Single Acting Cylinder และ Double Acting Cylinder - มอเตอร์ไฮดรอลิค (Hydraulic Motor)
มอเตอร์ไฮดรอลิคคือ อุปกรณ์ทำงานที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิคไปเป็นการหมุน ส่วนโครงสร้างภายในจะเหมือนกันกับปั้มไฮดรอลิค แต่การทำงานจะกลับด้านหรือตรงกันข้ามมอเตอร์ไฮดรอลิคคือจะเปลี่ยนแรงดันเป็นพลังงานกล แต่ปั้มไฮดรอลิคเปลี่ยนพลังงานกลเป็นแรงดัน - ถังน้ำมันไฮดรอลิค
คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำมันไฮดรอลิคเพื่อใช้หมุนเวียนในระบบ

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ
การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ
การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้
(more…)
ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น
ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น
ระบบนิวเมติกส์เบื้องต้น ระบบลมอัดหรือระบบนิวเมติกส์ จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยชุดต้นกำลังในที่นี้เรานิยมเรียกว่า “ปั๊มลม” ปั๊มลมจะทำหน้าที่ส่งลมอัดให้กับอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ จากปั๊มลมไปสู่เครื่องระบายความร้อน > ไปสู่เครื่องทำลมแห้ง > ไปสู่ชุดกรองลม > ไปสู่วาล์วลม > ไปสู่กระบอกลมนิวเมติกส์หรือมอเตอร์หรือหัวขับลม ทำให้ระบบทำงานได้
เริ่มต้นจากอุปกรณ์ตัวแรก
- เครื่องอัดลม (air compressor) เป็นตัวที่จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเครื่องยนต์ ให้เป็นพลังงานลมอัด เพื่อที่จะสร้างความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ อาจจะแบ่งเครื่องปั้มลมออกได้ 3 ขนาด คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ตัวปั๊มลมจะสร้างความดันลมอัดได้ระหว่าง 1-16 บาร์(bar) (หรือบางรุ่นอาจจะสร้างความดันได้มากกว่า 16บาร์ขึ้นไป) ส่วนมากอุปกรณ์นิวแมติกส์จะใช้แรงดันอยู่ไม่เกิน 10 บาร์(bar)
- เครื่องระบายความร้อนลมอัด (heal exchanger) เนื่องจากเครื่องอัดลมทำงานโดยอัดอากาศจากความดันบรรยากาศปกติ ให้มีความดันสูงจึงมีความร้อนสะสมในระบบมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดอุณหภูมิของลมอัด ก่อนที่จะนำไปใช้งานกับระบบนิวเมติกส์
- เครื่องทำลมให้แห้ง (air dryer) เนื่องจากความกดอากาศที่สูงภายในระบบลมอัด จึงมีความชื้นปะปนอยู่มาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเอาความชื้นออกจากลมอัดให้ได้มากที่สุด เพื่อยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
- กรองลม (air filter)มีความสำคัญมากในระบบลม จะมีหน้าที่กรองน้ำ กรองเศษฝุ่น/ผงเล็กๆ ก่อนเข้าสู่ระบบจะช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
- วาล์วลดความดัน (pressure regulator valve)มีความสำคัญมากในระบบลมเช่นเดียวกันเพราะอุปกรณ์บางอย่างออกแบบสำหรับรับแรงดันไม่เท่ากัน ดั้งนั้นการลดแรงดันให้เหมาะสม และการปรับให้ถูกต้อง ช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
- อุปกรณ์จ่ายน้ำมันหล่อลื่น (oil lubricator) เนื่องจากอุปกรณ์นิวเมติกส์ส่วนใหญ่ เช่น วาล์วลม, กระบอกลมนิวเมติกส์, หัวขับลม ต้องการน้ำมันในการหล่อลื่นถ้าหากไม่มีการหล่อลื่นแล้ว อุปกรณ์จะเสียหายเร็วมาก แต่ในงานนิวเมติกส์บางประเภท เช่นระบบนิวเมติกส์งานอาหาร หรือ งานที่ต้องใช้ลมเข้าไปเป็นส่วนผสมเราจึงไม่ต้องการน้ำมันให้เข้าไปสู่ระบบเด็ดขาด…… ดั้งนั้นเวลาเลือกอุปกรณ์ประเภทนี้ ต้องคำนึงถึงการใช้งานด้วย
- อุปกรณ์เก็บเสียง (air silencer) ลมอัดเมื่อถูกใช้งานแล้วจะระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศ โดยออกมาทางรูระบาย ถ้าไม่มีตัวเก็บเสียงมาติดตั้งที่รูระบายแล้ว เมื่อลมอัดถูกระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศจะมีเสียงดัง วาล์วเก็บเสียงบางรุ่นยังถูกออกแบบให้สามารถ ปรับอัตราการไหลของลมได้อีกด้วย จะทำให้เราควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์หรือหัวขับลมหรือมอเตอร์ลม ได้อีกด้วย
- วาล์วเปลี่ยนทิศทางลม (air flow change valve) เป็นหัวใจสำคัญของระบบเลยก็ว่าได้ วาล์วลมจะทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางลมตามความต้องการของเราโดยเฉพาะการควบคุมกระบอกลม
- วาล์วบังคับความเร็ว (speed control valve) วาล์วตัวนี้จะทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของลม (ไม่ใช่ปรับแรงดันลม) ให้เข้าสู่ระบบมากหรือน้อยตามต้องการได้ ส่งผลให้เราบังคับความเร็วของอุปกรณ์ได้เช่น กำหนดความเร็วของการเคลื่อนที่แกนกระบอกลมได้ กำหนดความเร็วของหัวขับลมได้
- กระบอกสูบ (air cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์จะทำหน้าที่เปลี่ยนจากพลังงานลมให้เป็นพลังงานกล พูดง่ายๆคือ เอาลมจ่ายเข้าที่ท้ายกระบอกลมจะไปผลักลูกสูบ ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ แกนที่ติดกับลูกสูบก็จะเคลื่อนที่ไปด้วย เราจะนำประโยชน์ตรงนี้ไปใช้งานโดย การผลัก/ดัน/ดึง ชิ้นงาน
วาล์วและสัญลักษณ์ในระบบนิวเมติกส์
ตาราง การกำหนดตำแหน่งห้อง ของวาล์ว
ตาราง สัญลักษณ์ของวาล์วควบคุมทิศทาง
แหล่งที่มาข้อมูล https://www.factorymartonline.com/