ขั้นตอนติดตั้งระบบ Solar Rooftop

พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากการติดตั้ง Solar Rooftop ผลิตได้จากแสงอาทิตย์นี้ สามารถทำงานร่วมกับกระแสไฟฟ้าจากระบบสายส่งหรือที่เรียกว่าระบบ Grid โดยไม่จำเป็นต้องมีระบบกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่   ปัจจุบันผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ส่วนใหญ่จะรับประกันประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์สูงสุดถึง 25 ปี เพียงอาศัยการทำความสะอาดและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถจะยืดอายุการใช้งานของระบบ Solar Rooftop ได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิตไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 80% ในปีที่ 25



ทั้งนี้กระบวนการติดตั้ง Solar Rooftop แบบ on-grid ของ Thai-A จะมีอะไรบ้างตามมาดูกันค่ะ

  1. สำรวจพฤติกรรมการใช้ไฟของอาคารเพื่อทราบกำลังผลิตไฟฟ้าและการติดตั้ง Solar Rooftop ที่จะต้องติดตั้งบนหลังคาด้วยการดูหน่วยการใช้ไปจากบิลค่าไฟย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
  2. สำรวจหลังคาที่จะติดตั้งว่ามีอาคารสูงอยู่ใกล้เคียงหรือไม่หากมีและอาคารสูงดังกล่าวตั้งอยู่ในทิศที่เงาของอาคารจะพาดผ่านหลังคาที่จะติดตั้ง พื้นที่หลังคาบริเวณที่เงาพาดผ่าน ถือว่าเป็นพื้นที่ ที่ไม่เหมาะสมสำหรับติดตั้ง Solar Rooftop
  3. สำรวจประเภทหลังคาว่าเป็นวัสดุอะไร และความลาดชันของหลังคาว่ามากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยทั้ง 2 อย่างมีผลกับการเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ และอุปกรณ์ในการยึดติดแผงโซล่าเซลล์      
  4. ทิศทางของหลังคาที่ต้องการติดตั้ง หากตั้งหันเอียงไปทางทิศที่แสงอาทิตย์สามารถส่องได้ยาวนานในระหว่างวัน เช่นทิศใต้ หรือตะวันตกเฉียงใต้ จะถือว่าการติดตั้งระบบ Solar Rooftop ที่ได้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด  หากหลังคาที่ต้องการติดไม่อยู่ในทิศที่เหมาะสม ทางวิศวกรผู้ออกแบบระบบจะต้องออกแบบให้มีโครงสร้างรองรับแผงหรือที่เรียกว่า Mounting ที่สามารถปรับทิศทางการรับแสงของแผ่นโซล่าเซลล์ไปทางทิศที่เหมาะสม
  5. ตรวจสอบความแข็งแรงและการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาว่าสามารถรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ได้หรือไม่  ซึ่งโดยปกติรับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 15 -16 กก./แผ่น  ดังนั้นวิศวกรโครงสร้างควรออกแบบหลังคาให้มีการรับน้ำหนักของการบรรทุกถาวร และ การบรรทุกจรได้ไม่ต่ำกว่า 50 กก./ตรม.
  6. เมื่อสำรวจทุกอย่างและได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว วิศวกรจะต้องคำนวณกำลังการผลิตที่เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ไฟไม่ให้เหลือทิ้งหรือไหลย้อนคืนสายส่งของการไฟฟ้าหรือเข้า Grid  กรณีที่เป็น ระบบ Solar rooftop แบบที่ไม่มีการกักเก็บไฟที่ผลิตได้ในแบตเตอรี่ เมื่อผลิตไฟฟ้าได้แล้วแล้วต้องใช้ทันที เพราะแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ราคายังมีราคาแพงและไม่เป็นที่แพร่หลาย
  7. ดำเนินการติดตั้ง โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์ หรือ Mounting เพื่อยึดเข้ากับหลังคาซึ่งวัสดุของโครงสร้างดังกล่าว ที่มีน้ำหนักเบา และไม่ขึ้นสนิม หลังจากนั้น จะดำเนินการติด   แผงโซล่าเซลล์ ตามที่วิศวกรได้ออกแบบไว้ ในขั้นตอนนี้ช่างจะต้องยึดติดแผงโซล่าเซลล์เข้ากับโครงให้แน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้ติดแผงโซล่าเซลล์หลุดร่วงจากหลังคาลงมาด้านล่างได้ค่ะ
  8. ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ของระบบนอกเหนือจากการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ อาทิเช่น ติดตั้ง inverter หรือการเดินสายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนระบบน้ำทำความสะอาดแผ่นโซล่าเซลล์บนหลังคา ให้ครบสมบูรณ์
  9. ทดสอบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ราคาที่ผลิตได้จากระบบ Solar Rooftop และจ่ายไฟฟ้าเพื่อเป็ฯการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน หรือครัวเลือน  

หากคุณสนใจระบบ Solar Rooftop Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบ Solar Rooftop ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 335 วัตต์ อินเวอร์เตอร์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม  Solar Rooftop ราคาจับต้องได้ มีแพ็คแกจ ให้คุณเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมเช่น Solar Rooftop 5 kWp, Solar Rooftop 10 kWp พร้อมติดตั้งให้คุณด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานและเป็นเจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง



ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ