ทำไมติดตั้งโซล่ารูฟท็อป On Grid ต้องขออนุญาตการไฟฟ้า ?

การติดตั้งโซล่าเซลล์ On Grid บนหลังคา ที่บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน หรือโรงงาน หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าต้องมีการขออนุญาตติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ก่อน เนื่องจากระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาแบบออนกริด (On Grid) หรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อปเป็นระบบที่ต่อเชื่อมขนานไฟกับการไฟฟ้าฯ ด้วย โดยทุกท่านสามารถขออนุญาตติดตั้งได้เองกับหน่วยงานภาครัฐหรือสามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนที่จำหน่ายโซล่าเซลล์ยื่นขออนุญาตการติดตั้งให้ก็ได้

 

การขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปนั้นจะแบ่งการขออนุญาตออกเป็น 2 แบบคือ

1. การขออนุญาตเพื่อขอขายไฟคืนตามโครงการไฟฟ้าภาคประชาชน (ต้องติดตั้งขนาดที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์) และต้องเป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น (ประเภท1)

2. การขอขนานไฟเพื่อติดตั้งโซล่ารูฟท็อปเสรี โดยติดตั้งที่มีกำลังการผลิตได้ทุกขนาดไม่จำกัด

โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งการขายไฟคืน หรือการติดตั้งเพื่อใช้ภายในบ้านหรือสำนักงาน จะต้องติดต่อกับหน่วยงานของรัฐทั้ง 3 หน่วยงานดังนี้ค่ะ

1. กกพ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) เพื่อแจ้งขอเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นและขอรับใบอนุญาตทำการผลิตพลังงานควบคุม

2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือสำนักงานเขตที่อาคารที่จะติดตั้งโซล่ารูฟท็อปตั้งอยู่เพื่อขอรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1) (แต่ในกรณีที่พื้นที่ติดตั้ง มีขนาดไม่เกิน 160 ตรม. และมีน้ำหนักรวมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์และโครงสร้างรับรองแผงไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อ ตรม. ไม่ต้องขอใบอนุญาต อ.1 แต่จะต้องขอแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นทราบว่าการออกแบบและการคำนวณได้มีวิศวกรโยธาเซ็นต์รับรอง )

3. กฟน. (การไฟฟ้านครหลวง) หรือ กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ในเขตพื้นที่เพื่อให้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้ง

การคำนวณค่าไฟจากการติดตั้งโซล่ารูฟท็อป (1)

ขั้นตอนการยื่นขอติดตั้งโซล่ารูฟท็อป

1. ยื่นเอกสารต่อ กกพ. เพื่อแสดงความจำนงในการติดตั้งโซล่ารูฟท็อป หลังจากนั้นจะได้ใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขอสามารถทำการผลิตพลังงานควบคุมได้

2. เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์มีน้ำหนักถึง 22 กิโลกรัม การนำแผงโซล่าเซลล์จำนวนหลาย ๆ แผงไปวางบนหลังคา จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างหลังคาว่ารับน้ำหนักได้หรือไม่ ผู้ติดตั้งจึงต้องยื่นแบบขอต่อเติมอาคารกับ สำนักงานเขต หรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น แล้วก็จะได้ใบอนุญาตมา 1 ใบ

3. นำเอกสารทั้ง 2 ส่วนมายื่นต่อการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าฯส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งการไฟฟ้าฯ จะนำมิเตอร์ไฟฟ้ามาเปลี่ยนให้ใหม่ เป็นมิเตอร์แบบป้องกันไฟฟ้าย้อนกลับ และหากจะขายไฟฟ้าคืน มิเตอร์ก็จะเป็นอีกประเภทหนึ่งที่สามารถปล่อยไฟฟ้ากลับคืนสายส่งของภาครัฐได้ โดยขั้นตอนทั้งหมดเป็นไปตามเงื่อนไข ของผู้จำหน่ายในแต่ละผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ค่ะ

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 335 วัตต์พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency