ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค และวิธีการแก้ไขเบื้องต้น

ปัญหาจุกจิกในระบบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิค ที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง กระบอกไฮดรอลิครั่วซึมและไม่มีแรง หรือส่งเสียงดังผิดปกติ  ซึ่งความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือน ก่อนที่อุปกรณ์ไฮดรอลิคจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังนั่นเองค่ะ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานกับระบบไฮดรอลิค ควรสังเกตุถึงความผิดปกติของระบบ และรีบทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกถึง วิธีการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในระบบไฮดรอลิคกันค่ะ


1. ฟองอากาศปนอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค

หากพบฟองอากาศผสมอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิค ควรตรวจสอบจุดสำคัญที่

  • ท่อดูด และตัวกรองไฮดรอลิคตันหรือไม่
  • ซีลคอของปั้มว่าพบจุดรั่วซึมหรือไม่
  • ระดับน้ำมันไฮดรอลิคในถังอยู่ในระดับเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
  • ท่อน้ำมันไหลกลับ ต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำมันไฮดรอลิค และระยะห่างระหว่างท่อน้ำมันไหลกลับกับท่อดูดของ
  • ปั๊มไฮดรอลิค ต้องอยู่ห่างกันในระยะที่เหมาะสม ไม่ชิดกันหรือห่างกันจนเกินไป

2. ยอยด์ต่อ (Coupling) ไม่ได้ Alignment

หากยอยด์ต่อไม่ได้ศูนย์ ให้ปรับตั้งศูนย์ Alignment Coupling และปรับค่า Angular torerance ให้เหมาะสม

3. อากาศรั่วเข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค

สามารถทดสอบว่าอากาศรั่วเข้าไปในปั๊มไฮดรอลิคทางช่องว่างระหว่างท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮดรอลิค

  • โดยในเบื้องต้นสามารถตรวจเช็คดูด้วยตาเปล่าว่ามีน้ำมันรั่วซึมออกมาหรือไม่
  • โดยการใช้จารบีป้ายทาระหว่างหน้าแปลนท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮรอลิค เพื่อเช็คจุดรั่วซึม ผลที่ได้หากปั๊มไฮดรอลิคมีการรั่วซึมจริง เสียงปั๊มจะเงียบลง และให้ทำการแก้ไขเปลี่ยนซีลและโอริง หรือประเก็นหน้าแปลนท่อดูด

4. รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

โดยส่วนใหญ่รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคจะถูกกำหนดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นออกแบบการใช้งาน จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงาน ตามสเปคของปั๊มไฮดรอลิค เพื่อใช้งานอย่างถูกต้อง

5. แรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

จริงๆ แล้วควรใช้แรงดันให้อยู่ภายในสเปคของอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่กำหนดไว้ตอนออกแบบ แต่ถ้าพบว่าแรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป ทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบเสียหาย เช่น เพลาขาด หรือปั๊มแตก ให้ทำการปรับลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค ไม่ให้เกินความต้องการของการใช้งาน เพื่อลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค


6. ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงหรือต่ำเกินไป

หากความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคสูงหรือต่ำเกินไป ให้ทำการเปลี่ยนน้ำมันที่มีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับการใช้งาน

  1. ระบบไฮดรอลิคที่ใช้ Accumulator เกิดความผิดปกติ

หากพบความผิดปกติกับ Accumulator ให้ทำสิ่งต่อไปนี้

อันดับแรก :  ตรวจเช็คแก๊สไนโตรเจนที่ใช้เติมใน Accumulator ว่าอยู่ในค่าที่เติมไว้หรือไม่ โดยใช้หัวชุดชาร์ทแก็สทำการตรวจเช็ค หากพบว่าไม่มีแก็สไนโตรเจนเหลืออยู่ แสดงว่าเกิดการรั่วซึม ให้ทำการแก้ไขให้พร้อมใช้งาน ตัวอย่างเช่น กรณี Accumulator เป็นแบบใช้ Bladder ก็ให้ทำการเปลี่ยน Bladder พร้อม Dynac Gas Valve และทำการชาร์ทแก็สไนโตรเจนตามสเปคของเครื่องจักร

*หมายเหตุ: หากเครื่องจักรที่ใช้ accumulator ในระบบ ก่อนทำการตรวจเช็คระบบ ให้ทำการเปิด Bypass Valve ของ Accumulator ก่อนทุกครั้ง

อันดับที่สอง :  ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าโซลีนอยด์วาล์ว สัญญาณไพล็อต และ Unloading valve ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบความผิดปกติให้ทำการแก้ไข

7. การรั่วซึมภายในของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบไฮดรอลิคมากกว่าปกติ

แก้ไขง่าย ๆ โดยตรวจสอบซีลตามจุดต่าง ๆ และชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ของปั๊มไฮดรอลิค วาล์ว และกระบอกสูบไฮดรอลิค เพื่อดูการสึกหรอและรอยรั่ว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และทำการเปลี่ยนใหม่ตามความเหมาะสมค่ะ

7 ข้อที่กล่าวมานั้นเป็นปัญหา และวิธีการแก้ไขเบื้องต้นในระบบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านจะสามารถจัดการกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบได้เบื้องต้น ก่อนที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกลมไฮดรอลิคตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency